
09.00 INDEX เส้นทาง กรรมการสมานฉันท์ เส้นทางสายเดียว สู่เกี่ยวก้อย
เส้นทาง กรรมการสมานฉันท์ เส้นทางสายเดียว สู่เกี่ยวก้อย
แรกที่พรรคประชาธิปัตย์โดย นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรคลุกขึ้นเสนอต่อที่ประชุมรัฐสภาให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ และมีการขานรับอย่างคึกคัก
สังคมเปี่ยมด้วยความหวังว่านี่จะเป็น ‘ทางออก’ หนึ่งซึ่งทรง ความหมายยิ่งในท่ามกลางความขัดแย้ง
แรกที่ที่ประชุมมอบหมายให้ นายชวน หลีกภัย ในฐานะประธานรัฐสภารับไปดำเนินการเพื่อหาทางจัดตั้งคณะกรรมการร่วม กับสถาบันพระปกเกล้า
สังคมยิ่งเปี่ยมด้วยความเชื่อมั่นว่า ด้วยบารมีและเครดิตทางการเมืองของ นายชวน หลีกภัย จะทำให้คณะกรรมการออกมาดี
ยิ่งเมื่อ นายชวน หลีกภัย ต่อสายไปยังอดีตนายกรัฐมนตรี ไม่ว่าจะเป็น นายอานันท์ ปันยารชุน พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ์ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พล.อ.สรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นต้น
ยิ่งทำให้ภาพ ‘คณะกรรมการ’ ออกมาชวนให้ ‘ศรัทธา’
แต่แล้วเมื่อรายชื่อคณะกรรมการปรากฏขึ้นคนแล้วคนเล่าสังคมก็เริ่มห่อเห่ยวและสิ้นความคาดหวังลงเป็นลำดับ
ที่ นายชวน หลีกภัย เคยเคลื่อนไหวเพื่อต่อสายไปยังอดีตนายกรัฐมนตรีและที่มีหลายคนออกมาขานรับอย่างอบอุ่น ปรากฏ ว่า เมื่อมีการแต่งตั้งเข้าจริง
รายชื่อกลับเริ่มจาก พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล ตามด้วยชื่อของ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์
ไม่มีรายชื่อ ‘อดีต’ นายกรัฐมนตรี ไม่ว่าจะ นายอานันท์ ปันยารชุน ไม่ว่าจะ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ์ ไม่ว่าจะ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ แม้แต่คนเดียว
แม้รายชื่อของ นายสุริชัย หวันแก้ว หรือ นายวันชัย วัฒนศัพท์ จะสร้างความเชื่อมั่นขึ้นมาได้ในฐานะนักสันติศึกษาและทำงานภาค ประชาชนมาอย่างยาวนาน
กระนั้น ปัจจัยสำคัญก็คือ ไม่มีตัวแทน ‘ฝ่ายค้าน’ แม้แต่ผู้เดียว
เมื่อปัจจัยของฝ่ายค้านอันเป็นคู่ความขัดแย้งขาดหายไปในที่สุดแนวโน้มที่จะเป็นบทสรุปที่ ‘น้องเกี่ยวก้อย’ ก็เป็นไปได้สูงยิ่ง
เส้นทางแห่งการผลักดันอันเปี่ยมด้วยความปรารถนาดีซึ่งมาจากพรรคประชาธิปัตย์และขับเคลื่อนผ่าน นายชวน หลีกภัย ตัวแทนของรัฐสภาจึงดำเนินไปในกระสวนแบบคนละเรื่องเดียวกัน
เป็นไปในท่วงทำนองอันสรุปได้ว่าเริ่มต้นอย่างที่เห็นว่าเป็นลำไม้ไผ่ แต่บั้นปลายท้ายสุดทำท่าว่าอาจจะเป็นอย่างอื่น
เพราะนี่คือเส้นทางที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เคยเดิน
เป็นการเดินโดยมีเงาร่าง พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล ยืนเรียงอยู่ เคียงข้างด้วยความอบอุ่น
คอลัมน์ทิ้งหมัดเข้ามุม : ลำดับความสำคัญ
https://www.khaosod.co.th/newspaper-column/relevant/news_5714093
ลำดับความสำคัญ
คอลัมน์ทิ้งหมัดเข้ามุม
ลำดับความสำคัญ - กลายเป็นดราม่าที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง สำหรับกรณี ‘พิมรี่พาย’ เน็ตไอดอล ยูทูบเบอร์ และแม่ค้าออนไลน์ ที่ทำคอนเทนต์เกี่ยวกับการขึ้นดอยไปให้ของขวัญวันเด็ก
พร้อมตัดสินใจควักเงิน 5.5 แสนบาท ติดแผงโซลาร์เซลล์ พร้อมโทรทัศน์เครื่องใหญ่ให้เด็กบนดอยให้เห็น ‘โลก’ ว่ามีรูปแบบอย่างไร เพื่อให้มีโอกาสตามหาความ ‘ฝัน’ ของแต่ละคนได้บ้าง
แน่นอนว่าย่อมมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในทำนองว่าเป็นการสร้าง คอนเทนต์ที่มุ่งประชาสัมพันธ์เชิงบวก หวังยอดเอ็นเกจเมนต์ และชื่อเสียง เพื่อต่อยอดการขายสินค้าในอนาคต
หรือกระทั่งมีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการทำบุญ หรือการช่วยเหลือในรูปแบบสังคมสงเคราะห์เช่นนี้
ก็เป็นเรื่องที่สามารถพิจารณาถกเถียงกันได้
แต่ที่ไม่สามารถปฏิเสธข้อเท็จจริงที่ดำรงอยู่ ก็คือสภาพชีวิตของประชาชนที่อยู่ห่างไกลศูนย์กลางความเจริญ มันช่างมีความต่างกันเสียจริงๆ
ในขณะที่ในกทม.น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก แต่ขณะเดียวกันยังมีพื้นที่อื่นๆ ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้
การโภชนาการอาหารครบ 5 หมู่ตามหลักสุขศึกษา ถือเป็นเรื่องยากที่จะทำให้ได้ครบทุกมื้อ หรือทุกวัน
สิ่งเหลานี้คือแสงสะท้อนจากไฟฟ้าที่มาจากโซลาร์เซลล์บนดอย ที่ ‘พิมรี่พาย’ นำไปติดตั้ง
สว่างวาบขึ้นในสังคม!??
จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องตั้งคำถามถึงแผนการบริหารจัดการของภาครัฐ ที่ต้องทบทวนนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาให้รอบด้าน
ไม่ใช่ไปติดกับดักความไม่คุ้มทุน ในการลากสายไฟฟ้าเข้าพื้นที่ห่างไกล แล้วปล่อยให้เขาเผชิญชะตากรรมกันเอง ทั้งที่เขาก็เป็นคนไทยเช่นกัน
นี่ยังไม่นับกฎหมายอื่นๆ ที่จ้องจะ ลิดรอนสิทธิของคนพื้นเมือง กีดกันให้เป็นชนกลุ่มน้อย หรือชนเผ่าต่างๆ
และจะมีประโยชน์อย่างไร ที่ยังมีคนในประเทศอดอยากปากแห้ง ไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรใดๆ ทั้งที่เป็นสิทธิที่เขาควรจะได้
ไม่เช่นนั้นรัฐบาลเองก็ต้องเผชิญกับการตั้งคำถามจากสังคม ว่าเงินพัฒนาชนบทให้ประชาชนได้อยู่ดีกินดีกัน ทั่วหน้า
กับงบประมาณที่จะไปดวงจันทร์ หรือแม้กระทั่งงบประมาณซ่อมส้วมบนเครื่องบินมูลค่า 54 ล้านบาทที่เพิ่งจัด ทำไป
ต้องตอบให้ได้ว่าอะไรสำคัญมากกว่ากัน!??
โดยรุก กลางกระดาน
4 ความเห็น
เริ่ด เชิ่ด มึงชนะ อีพิม
เริ่ด เชิ่ด มึงชนะ อีพิม
อนาถ