09.00 INDEX สถานะ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลักษณะ อันสถิต และสถาพร
แม้พรรคเพื่อไทยจะมีความมั่นใจว่า ชะตากรรมของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในวันพุธที่ 2 ธันวาคม จะเดินไปบนเส้นทางเดียวกันกับ ของ นายสมัคร สุนทรเวช คือต้องพันจากตำแหน่ง
แต่หากมองจากด้านของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มองจากด้านของพรรคพลังประชารัฐก็มีความมั่นใจไปในทางตรงกันข้าม
นั่นก็คือ สถานะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะยังเหมือนเดิม
กระนั้น คำว่า “เหมือนเดิม” ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะดำเนินไปเช่นเดียวกับในห้วงหลังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 หรือในห้วงหลังการเลือกตั้งเมื่อเดือนมีนาคม 2562 หรือไม่
ในทางเป็นจริงจะสามารถมีความมั่นใจเช่นนั้นได้หรือไม่
เพราะการเมืองไทยนับแต่การปรากฏขึ้นของ “เยาวชนปลดแอก” เมื่อเดือนกรกฎาคม 2563 ไม่สามารถฟันธงลงไปได้เลยว่าอะไรต่อมิอะไรจะยังคง “เหมือนเดิม”
แม้แต่สถานะของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ตาม
คำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงมิได้เป็นการยุติหาก แต่เท่ากับเข้าสู่บทใหม่ของปัญหาหรืออาจจะเป็น “วิกฤต” ด้วยซ้ำ
นี่มิได้เป็นความเชื่ออย่างเลื่อนลอย ไร้รากฐานความเป็นจริงรองรับ หากติดตามดูสภาพการณ์อันเกี่ยวกับ “รัฐธรรมนูญ” มาเป็นตัวอย่างก็จะสัมผัสได้ในมิติที่เปลี่ยนแปลงและมิอาจควบคุมได้
ความเชื่อในเดือนเมษายน 2560 คือ ความเชื่อที่ว่ารัฐธรรมนูญนี้เป็นรัฐธรรมนูญ “ฉบับถาวร”
ถาวรเพราะเป็นความมุ่งมั่นในการสถาปนาขึ้นมาโดยอำนาจของคสช.ที่มีความแข็งแกร่งเป็นอย่างสูง เป็นรัฐธรรมนูญที่ DESIGN เพื่อ “พวกเรา”
กระนั้น นายวิษณุ เครืองาม ก็รู้อยู่แล้วว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี 2560 ปี 2561 และปี 2562 ด้วยซ้ำไป และขณะนี้ก็กำลังอยู่ระหว่างพิจารณาเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่ง
เป็นการเปลี่ยนแปลงในบรรยากาศแห่งกรรมการสมานฉันท์
เป็นกรรมการสมานฉันท์ที่แม้กระทั่ง นายชวน หลีกภัย ก็ไม่มีความมั่นใจแม้แต่น้อยว่าจะบรรลุสัมฤทธิภาพได้โดยราบรื่น
ไม่ว่าจะมองไปยัง “รัฐธรรมนูญ” ไม่ว่าจะมองไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงมิได้เป็นการมองอย่าง “สถิตสถาพร” ตรงกันข้าม จำ เป็นต้องมองอย่างเห็น “พลวัต”
เพียงแต่ “พลวัต” นั้นมีรากฐานมาจากที่ใดและอย่างไรเท่านั้น
นี่จึงเป็นสภาพการณ์ “ใหม่” ในทางสังคม ในทางการเมือง อันแตกต่างเป็นอย่างสูงจากความเชื่อมั่นเดิมตั้งแต่หลังรัฐประหารเมื่อ เดือนพฤษภาคม 2557 เป็นต้น
เป็นสภาพการณ์อันยืนยันความเป็นจริงแห่งอนิจจัง ไม่เที่ยง
3 ความเห็น
https://www.thairath.co.th/news/politic/1985611
โหมกระแส การปฏิวัติรัฐประหาร ปลุกระดม ลัทธิ รักชาติ ชังชาติ เรียกร้องประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ ล้มล้างสถาบัน กับ ปฏิรูป สถาบัน ผลักดันแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่สังคมต้องตั้งคำถามคือ เราจะแก้ปัญหากันที่ ต้นเหตุ หรือ ปลายเหตุ กันดี
ถ้าแก้ที่ ปลายเหตุ ก็จะบานปลายไปเรื่อยๆ ถ้าจะแก้กันที่ ต้นเหตุ ความขัดแย้งจะรุนแรง แบ่งประเทศไทยเป็นสองฝ่าย ความคิดจะลดความขัดแย้ง แก้ปัญหาประนีประนอมสมานฉันท์ไม่ถูกจริตกับสังคมไทยอยู่แล้ว เพราะคนไทยชอบเอาชนะ เป็นสังคมที่มี โครงสร้างหลวม คือไม่ยอมรับเหตุผล แต่อยู่ด้วยความเชื่อและศรัทธ
ถ้าเปรียบเทียบกับ ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ ที่เราผ่านมาทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติค่าเงินบาท ต้มยำกุ้ง เราผ่านมาหมดแล้ว เราเป็น ขี้โรคแห่งเอเชีย หรือเป็น ห้าเสือแห่งเอเชีย เราก็เป็นมาแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าเศรษฐกิจของประเทศจะวินาศสันตะโรไปกว่านี้ มีอะไรหนักกว่านี้ ก็ไม่มีอะไรในกอไผ่
การเมืองก็เหมือนกัน สำหรับประชาชน ที่ผ่านการปฏิวัติรัฐประหารมาทุก 5 ปี 10 ปี คงไม่รู้สึกอะไร จะมีรัฐธรรมนูญเพิ่มขึ้นทุกปีก็ไม่เป็นไร ถ้าจะมีปฏิวัติรัฐประหารขึ้นมาอีก ก็เป็นเรื่องที่คุ้นเคยอยู่แล้ว มีคนไปเรียกร้องให้ทหารปฏิวัติด้วยซ้ำ หรือเรียกร้องให้ใช้กฎอัยการศึก กฎหมายความมั่นคงสูงสุดเป็นดัชนีบ่งชี้ถึงการพัฒนาของระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยได้ดีที่สุด
คำว่า ประชาธิปไตยอ่อนแอ กับ เผด็จการซ่อนรูป เป็นคำจำกัดความของการเมืองการปกครองในประเทศไทยที่ชัดเจนที่สุด ไม่ว่าจะเกิดวิกฤติการเมืองขึ้นมาครั้งใดก็ตาม จะมีการหยิบยกเหตุผลอยู่ 3-4 เหตุผล ละเมิดสถาบัน ทุจริตคอร์รัปชัน เผด็จการเสียงข้างมากในสภาแก้รัฐธรรมนูญ นิรโทษกรรม ให้ตัวเอง
เหล่านี้เป็นวงจรอุบาทว์ที่เกาะกิน การเมืองการปกครองไทยมานานแสนนาน
เราไม่เคยลดช่องว่าง ระหว่างประชาธิปไตยกับเผด็จการให้ชัดเจน เราปกครองในระบอบประชาธิปไตยก็จริง แต่รูปแบบเรากลับชอบวิธีการแบบเผด็จการ ถ้าจะปฏิเสธว่าไม่จริง เราก็ต้องไม่ยอมรับระบบอุปถัมภ์ค้ำชูในสังคมไทย
ในปัจจุบัน ระบอบการปกครอง ระหว่าง ประชาธิปไตย กับเผด็จการ แทบจะไม่ต่างกัน ห่างกันแค่เส้นยาแดงผ่าแปด การใช้เสียงข้างมากกระทำความผิด หรือทำผิดให้เป็นถูก ก็ไม่ต่างจากเผด็จการอยู่ดี
ทั้งหลายทั้งปวงขึ้นอยู่กับวิธีปฏิบัติจะทำอย่างไรให้เกิดความเท่าเทียม เสมอภาค และเสรีภาพกับประชาชนทุกคนทุกหมู่ทุกเหลา และรัฐจะต้องเอาจริงเอาจริงกับกระบวนการยุติธรรมให้มีความเท่าเทียมกันทุกสีทุกฝ่าย
ระหว่าง ศักดินากับประชาราษฎร ที่เราได้ยินจนคุ้นหูในเวทีการชุมนุม ถ้าเป็นเมื่อปี 2475 คงเป็นเรื่องใหม่ แต่นี่ปี 2563 ยุคสมัยที่เข้าสู่สังคมยุค ดิจิทัล สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ทั้งโลก
มีการปลุกระดมให้รักชาติ ให้ชังอีกฝ่ายที่กล่าวหาว่าไม่รักชาติ ผ่านสื่อโซเชียล สื่อหลัก กลายเป็นสังคมแห่งการเกลียดชัง เปิดแนวรบตั้งแต่รุ่นเด็กเล็กไปจนถึงรุ่นใหญ่ที่แก่จะเข้าโลง อ้างประชาธิปไตยไม่มีที่มาที่ไป
เหยียบย่ำอยู่บนซากปรักหักพัง ที่พังแล้วพังอีก.
หมัดเหล็ก
mudlek@thairath.co.th
ประชาธิปไตยมันไม่ได้แยกอะไรยากเย็นขนาดนั้นหรอกหมัดเหล็ก
วันที่ข้าราชการของรัฐคือผู้ให้บริการประชาชน นั่นน่ะประชาธิปไตย
ประชาชนเป็นใหญ่ ประเทศชาติเต็มไปด้วยม๊อปออกมาเรียกร้องให้ช่วยเหลือราคาผลผลิต
สภาเต็มไปด้วยเผด็จการรัฐสภา..ที่พรรคใหญ่ที่ประชาชนเลือกมาได้ครองเสียงข้างมากมาจากเสียงประชาชน... ซึ่งทุกประเทศทั่วโลกที่เขาเรียกแบบนี้ว่าประชาธิปไตย แต่ไทยเรียกแบบนี้ว่าเผด็จการรัฐสภา
ในทางกลับกัน วันที่ข้าราชการของรัฐมีศักดิ์ศรีเยอะ สั่งให้ประชาชนเดินตามกรอบของกฎหมาย
ที่นึกอยากจะเขียนอะไรก็เขียนขึ้นมา เกิดรัฐราชการอำนาจนิยม ประชาธิปไตยเทียม
เลือกยังไงก็ได้ลุงตู่ สว.ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง องค์กรอิสระกร่าง ศาลเพี้ยน
วันที่ม๊อปออกมาไล่ I HERE TOO เต็มถนน
เราเรียกกันว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ ประชาธิปไตยในสภาที่เต็มไปด้วยสส.สว.ที่ประชาชนไม่ได้เลือกมาแต่มีคนเลือกให้เสร็จโดยคนไม่กี่คน ผ่านกฎหมายมากมายเพื่อมารีดภาษ๊ประชาชน ทั่วโลกเขาเรียกแบบนี้ว่ารัฐบาลเผด็จการอำนาจนิยมประชาธิปไตยเทียม
I Hear Too