
หลักทศพิธราชธรรม แด่ ผู้ปกครองประเทศ ทั้งหลาย
• ทาน (ทานํ) คือ การให้
• ศีล (สีลํ) คือ ความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา และใจ
• บริจาค (ปริจาคํ) คือ การเสียสละความสุขส่วนตนเพื่อความสุขส่วนรวม
• ความซื่อตรง (อาชฺชวํ) คือ การสุจริตต่อหน้าที่การงานของตน ต่อมิตรสหาย ต่อองค์กรหรือหลักการของตน
• ความอ่อนโยน (มทฺทวํ) คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน
• ความเพียร (ตปํ) คือ ความเพียรพยายามในการทำความสุขเพื่อส่วนรวม
• ความไม่โกรธ (อกฺโกธํ) คือ การไม่แสดงอาการโกรธ
• ความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา) คือ การดำเนินชีวิตไปตามทางสายกลาง การผลิต การบริโภคที่สมดุลโดยไม่เน้นประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก ซึ่งนำไปสู่การแข่งขันแย่งชิงจนเป็นการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นและทำลายสิ่งแวดล้อม
• ความอดทน (ขนฺติ) คือการรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนาหรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นไม่หวั่นไหว
• ความเที่ยงธรรม (อวิโรธนํ) คือ ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก
มีข้อไหนบ้างที่ท่านได้ลงมือทำแล้ว
ทาน.. ท่านเพียงกล่าวาจาสั้นๆคำเดียว “ปล่อยเด็กพวกนั้นออกไป” เท่านั้น ท่านก็จะได้ทำทานให้กับมนุษย์ด้วยกันแล้ว
ศีล..เพียงท่านไม่ผิดลูกเมียชาวบ้านเขาเท่านั้น ท่านก็จะได้ชื่อว่า ท่านมีศีล ในใจแล้ว
บริจาค..แค่ท่านไม่รุกล้ำ ที่ดินอันเคยเป็นที่สาธารณะเท่านั้น ท่านก็จะได้ชื่อว่าท่านได้บริจาคแล้ว
ความซื่อตรง.. เพียงท่านไม่มี “ตั๋วช้าง”เท่านั้น ท่านก็จะได้ชื่อว่าท่านซื่อตรงแล้ว
ความอ่อนโยน..เพียงท่าน รู้จักเคารพประชาชนผู้ที่เสียภาษีเลี้ยงดูพวกท่าน แค่นี้ก็นับว่าท่านอ่อนน้อมมากพอแล้ว
ความเพียร..เพียงท่านไม่เอางบประมาณมาผลาญเล่นเท่านั้น ก็ถือว่าท่านมีความเพียรแล้ว
ความไม่โกรธ..เพียงท่านไม่ใช้สุนัขรับใช้ของท่านไปฆ่าเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน แค่นี้ท่านก็ระงับความโกรธได้แล้ว
ความไม่เบียดเบียน..เพียงท่านไม่เพิ่มงบประมาณทุกปีและอยู่ในสถานะที่ท่านควรจะเป็น เท่าที่ก็เป็น บุญหัวกับคนทั้งหลายแล้ว
ความอดทน..เพียงท่านไม่ใช้ม.112อีกเท่านั้น ก็ถือว่าท่านอดทนพอแล้ว
ความเที่ยงธรรม...เพียงแต่ท่าน ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกระบวนบวนการยุติธรรมเท่านั้น ก็น่าจะพอเพียงแล้ว
ทศพิธราช ทำ ทั้งสิบข้อนี้ ท่านไม่เคยแม้แต่เหลียวมอง และคิดกระทำ แต่ท่านกับทำตรงข้ามทั้งหมด
เมื่อ ท่านเริ่มลงมือทำเมื่อใด ประชาชนจะสรรเสริญและศรัทธา ในตัวของท่านเอง ไม่ต้องใช้สุนัขที่ไหนมาคุ้มครองตัวท่านอีก ประชาชนเองจะคุ้มครองให้ตัวท่านเอง
ไม่มีอำนาจและกฎหมายใดเลยที่จะคุ้มครองตัวท่าน นอกจากท่านต้องใช้ ทศพิธราชธรรมคุ้มครองตัวท่านเอง
ประชาชนหน้าใส ไพร่ฟ้าสุขสำราญ
7 ความเห็น
เหมือนกับภาพยนต์เรื่องหนึ่ง ที่ นิโคล้ส เคน แสดงนำ
ผมจำชื่อเรื่องไม่ได้ เป็นการหาลายแทงสมบัติ ที่ พระเอกต้องไปเอาสมุดบันทึกที่ หอหมายเหตุ ของอเมริกา หนังสือเล่มนี้ได้บันทึกเรื่องราว ของประธานาธิปดีแต่ละสมัยเอาไว้ และส่งต่อกันมาเรื่อยๆ ในปีคศ.อะไร ได้เกิดอะไรขึ้นบ้าง
ทศพิธราชธรรม.....หมายถึงหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงพระราชาใช่หรือไม่
ในอดีตกาล คำว่า"ราชา" ไม่ใช่พระมหากษัตริย์ หรือแปลว่า จักรพรรดิ์
เป็นแค่ผู้ปกครองแคว้นหรือรัฐใดรัฐหนึ่งเท่านั้น ในประเทศอินเดีย อาจจะมี ราชา หลายองค์ก็เป็นได้
พระเจ้าอโศกมหาราชผู้โหดเห้ยม ปั้นปลายของชีวิตพระองค์ ได้ใช้หลักปกครองนี้นำมาใช้
โดยยึดถือคำสอนมาจาก พระพุทธเจ้า ที่ประทานพรให้
และในเวลาต่อมา ข้อความนี้จึงเปรียบเป็นคำภีย์ ที่ต้องให้ ราชาทุกแคว้นที่นับถือพุทธศาสนา ปฏิบัติตนเอง
ซึ่งเราก็คิดว่า ผู้นำของประเทศไทยที่นับถือศาสนาพุทธเหมือนกัน จะสำเหนียก ทศพิธราชธรรมบ้างครับ
ผมเข้าใจแระ.....แสดงว่าพระราชาองค์ไหนที่ไม่มี
ทศพิธราชธรรม....ก็ไม่ใช่ชาวพุทธ...เข้าใจถูกไหมครับ
ถึงว่าบดขยี้ธรรมกายเสียจนเละเลย
555
ท่านอาจจะนับถือ เทวทัด ก็เป็นได้นะครับ
ทศพิธราชธรรม
เข้าใจแหละ