
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/913493
สิงคโปร์ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ชาติแรกในเอเชีย
22 ธันวาคม 2563

สิงคโปร์ได้รับวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ล็อตแรกจากบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเท็คในวันจันทร์(21ธ.ค.)ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ได้รับวัคซีนดังกล่าว
ทั้งนี้ สายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ได้ทำการขนส่งวัคซีนดังกล่าวจากเบลเยียมมายังท่าอากาศยานชางงีในวันนี้
หลังจากนี้ สิงคโปร์จะได้รับวัคซีนอีกหลายล็อตในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า ขณะที่รัฐบาลมีแผนที่จะจัดหาวัคซีนให้เพียงพอสำหรับประชากรทั้งหมดในประเทศภายในไตรมาส 3 ของปีหน้า โดยประชาชนสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนฟรี แต่จะไม่มีการบังคับจากรัฐบาล
ขณะนี้ สิงคโปร์มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมมากกว่า 58,000 ราย ขณะที่เสียชีวิต 29 ราย
6 ความเห็น
https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1982836
ข่าวดี ก.สาธารณสุข คาดคนไทยได้ใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 กลางปี 64
ไทยรัฐออนไลน์24 พ.ย. 2563 20:49 น.
แพทย์สาธารณสุข เผยข่าวดี คาดคนไทยได้ใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 กลางปีหน้า ศุกร์นี้ “บิ๊กตู่” เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาจัดหาวัคซีนโดยการจองล่วงหน้าและสัญญาซื้อวัคซีนจากการจอง
วันที่ 24 พ.ย.2563 นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวความคืบหน้าการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ว่า ตามที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เสนอของบประมาณและได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) จำนวน 3,700 ล้านบาท เพื่อการจัดหาวัคซีนด้วยวิธีการจองล่วงหน้ากับบริษัท แอสตร้าเซเนก้า บริษัทผู้ผลิตชีวภัณฑ์ชั้นนำสัญชาติอังกฤษ-สวีเดน นับเป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ผลทดลองในเบื้องต้นพบว่า วัคซีนวิจัย AZD1222 ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าร่วมกันพัฒนา มีประสิทธิผลเกินข้อกำหนดของ WHO
การให้วัคซีนแบบแรก คือ ฉีดครึ่งโดสแล้วฉีดตามด้วยอีก 1 โดสหลังจากฉีดครั้งแรก 1 เดือน พบว่าประสิทธิผลในการป้องกันโรคโควิด-19 สูงถึง 90% และการให้วัคซีนแบบที่สอง คือ การฉีดวัคซีน 1 โดสแล้วฉีดตามอีก 1 โดสหลังจากฉีดครั้งแรก 1 เดือน พบว่ามีประสิทธิผลในการป้องกันโรคโควิด 19 ที่ 62% จากการให้วัคซีนทั้ง 2 แบบค่าเฉลี่ยของประสิทธิผลโดยรวมอยู่ที่ 70.4% ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดมาตรฐานการรับรองวัคซีนป้องกันโควิด-19 ต้องมีประสิทธิผลไม่ต่ำกว่า 50% นอกจากนี้ วัคซีนยังมีความปลอดภัยสูง พบว่าอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีน AZD1222 ไม่มีผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงหรือต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล และมีความปลอดภัยในกลุ่มผู้สูงอายุ ในขั้นตอนถัดไปบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า จะนำเสนอผลการทดลองเบื้องต้นที่สมบูรณ์ (full interim) เพื่อการพิจารณาของหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องต่อไป
“วัคซีนวิจัย AZD1222 มีความพร้อมในเรื่องการเตรียมกำลังการผลิตที่มีฐานการผลิตทั่วโลกและมุ่งหวังที่จะเพิ่มกำลังการผลิตให้เพียงพอแก่ประเทศต่างๆ จัดเป็นความหวังของชาวโลก นอกจากนี้ วัคซีนสามารถจัดเก็บได้ที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นมาตรฐานการจัดเก็บและขนส่งวัคซีนในระบบปกติของประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ทำให้วัคซีนชนิดนี้เหมาะสมที่จะนำมาใช้ได้ในสถานการณ์จริง คนไทยมีโอกาสเข้าถึงวัคซีนชนิดนี้มากกว่าประเทศอื่น คาดว่าจะได้รับวัคซีนกลางปีหน้า (2564) เนื่องจากมีความร่วมมือผลิตวัคซีนในประเทศไทย และเป็นโอกาสในการสร้างขีดความสามารถของประเทศเพื่อความมั่นคงในระยะยาว สำหรับการกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการรับวัคซีนโควิด-19 อยู่ระหว่างการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ซึ่งจะแล้วเสร็จภายในเดือน ธ.ค. 2563”
สำหรับความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย โดยกระทรวงสาธารณสุข สยามไบโอไซเอนซ์ เอสซีจี กับแอสตร้าเซนเนก้า และมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ในการผลิตวัคซีน AZD1222 จำนวนมากโดยไม่หวังผลกำไร เพื่อให้ประเทศไทยและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเข้าถึงวัคซีนได้อย่างเท่าเทียมและทันเวลา นับเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือที่รัฐบาลประเทศต่างๆ องค์กรด้านสาธารณสุขชั้นนำของโลก อาทิ องค์การอนามัยโลก กลุ่มพันธมิตรความร่วมมือด้านนวัตกรรมเพื่อรับมือโรคระบาด (CEPI) องค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีน (GAVI) และผู้ผลิตวัคซีนทั่วโลก ผนึกกำลังเพื่อช่วยกันกระจายวัคซีนให้ทั่วถึงและเท่าเทียมโดยเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
ทางด้าน นายแพทย์นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวเสริมว่า ครม. มีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอให้จัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สำหรับประชาชนไทยโดยการจองล่วงหน้ากับบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2563 ที่ผ่านมา โดยมอบให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติจัดทำสัญญาการจัดหาวัคซีนโดยการจองล่วงหน้า และมอบให้กรมควบคุมโรคเป็นผู้ดำเนินการจัดทำสัญญาซื้อวัคซีนจากการจองดังกล่าวโดยให้มีผลผูกพันเมื่อได้รับงบประมาณแล้ว โดยครั้งนี้จะเป็นการจัดหาวัคซีนจำนวน 26 ล้านโดส ครอบคลุมประชากรกลุ่มเป้าหมาย 13 ล้านคน ภายในปี 2564 ซึ่งการเข้าถึงวัคซีนได้อย่างรวดเร็วนี้จะทำให้ลดอัตราการป่วย การเสียชีวิต และค่าใช้จ่ายภาครัฐในการดูแลผู้ป่วยจากโรคโควิด-19 และฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจและสังคมให้กลับสู่สภาวะปกติได้โดยเร็ว ลดการสูญเสียเชิงเศรษฐกิจได้เป็นมูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 27 พ.ย. 2563 เวลา 14.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีการลงนามในสัญญาการจัดหาวัคซีนโดยการจองล่วงหน้าและสัญญาซื้อวัคซีนจากการจอง ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล.
ผู้นำไทย
รอลุ้นดีกว่าว่า กลางปีหน้า จะเหลือไม่ติดเชื้ออยู่กี่คน ติดแล้วก็ไม่ต้องฉีดแล้ว รักษาอย่างเดียว แล้ววัคซีนผลิดมา จะเอาไปให้ไคร มันไม่ทันกินแล้ว วัคซีนต้องมาก่อนมันระบาดรอบสอง ถึงจะมีประโยชน์
บังเอิญไปอ่านเจอมา.. เขาเขียนเอาไว้ว่า ตัวเลข84000 นั้น ในสมัยพุทธกาลพระอานนท์ได้เคยกล่าวเอาไว้..และถ้าไอ้หมอนี่ไปหยิบฉวยเอาตัวเลขนั้นมาพูดจริงเพื่อให้ตัวเองดูดี..แต่กลับแป๊ก..ผมว่าเลิกหวังวิสัยทัศน์ในอนาคตไปเลย..มันคงคิดจะทำแค่ก๊อปปี้เรื่องในอดีตที่เป็นผลงานคนอื่น...ลองนึกดูจะเจ็ดปีละ.. มีผลงานอะไรที่คิดได้เองบ้างมีแต่ลอกเขามาแล้วบอกเป็นผลงานของตัว

คนละเกรดกันเลยครับผู้นำสิงค์โปร์มาตราฐานเขาสูงระดับ World Class ครับทั้งความน่าเชื่อถือและสติปัญญาผิดกับที่กะลาแลนด์เศษสถุน 84000 เซล
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10221296078410551&id=1205225461
แล้วนายประยุทธ์บอกว่า
"เราทุกคนมีส่วน"
ก็จริง
เพราะเราทุกคน
ปล่อยให้คนเช่นนายประยุทธ์บริหารประเทศ
ทั้งๆที่ไร้ความชอบธรรม
ทั้งๆที่ไร้ความสามารถ
ทั้งๆที่ไร้มารยาท
ทั้งๆที่ไร้ความรับผิดชอบ